ทำไมเด็กไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ ?
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา นายอัมพร พินะสา เลขธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวถึงแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายการยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ว่าในปี 2564 นี้ ทางสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีเป้าหมายจะยกระดับภาษาอังกฤษของข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัด สพฐ. โดยในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น ขณะนี้ สพฐ. ได้กำหนดสอบสมรรถนะไว้ว่า ครูผู้สอนทุกคนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ในวิชาภาษาอังกฤษให้อยู่ในระดับ A รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษในระดับ B ตามตัววัดของมาตรฐานสากล หรือ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR)

โดยขณะนี้ สพฐ.อยู่ในระหว่างการวางแผนให้ครูมีสมรรถนะความรู้ด้านภาษาอังกฤษ เพื่อให้เข้ารับการพัฒนาหลักสูตรผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะมีกระบวนการทดสอบสมรรถนะให้แก่ข้าราชการครู ที่สำคัญยังได้นำภาษาอังกฤษมาเป็นตัวกำหนดและค่าคะแนนที่ให้ครูใช้เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ทางด้านภาษาให้กับครูมากขึ้น ดังนั้น คุณครูทุกคนจำเป็นจะต้องมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่เข้มข้นขึ้น
นอกจากนี้ เลขาฯ กพฐ. ยังได้กล่าวอีกว่า “ส่วนตัวผู้เรียนจะเริ่มฝึกการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยด้วยการสื่อสารภาษาคำศัพท์ที่เข้าใจง่าย เพราะต้องยอมรับว่าโลกยุคนี้คงไม่สามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้เพียงภาษาเดียวแล้ว ดังนั้น ครูผู้สอนจะต้องส่งเสริมการสื่อสารภาษาอังกฤษในโรงเรียนให้มากขึ้น ซึ่งผมจะกำหนดให้โรงเรียนขับเคลื่อนการสื่อสารภาษาอังกฤษในโรงเรียนอย่างเข้มข้น อีกทั้งครูผู้สอนจะต้องสอดแทรกภาษาอังกฤษในทุกกลุ่มการเรียนรู้วิชาหลักด้วย”
อุปสรรคของเด็กไทยที่มีต่อภาษาอังกฤษ
ประเด็นนี้ได้ถูกอ้างอิงมาจากบทความ ‘ไขความลับ คนไทยทำไมไม่เก่งภาษา’ จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ที่ได้ทำการสำรวจปัจจัยต่าง ๆ ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังอยู่กับที่ เพราะถึงแม้ว่าระยะเวลาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ในระดับประอนุบาล ประถม มัธยม รวมไปถึงมหาวิทยาลัย ระยะเวลาทั้งสิ้น 10 กว่าปี อีกทั้ง ยังมีการส่งบุตรหลานไปเรียนเสริมแต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ควร ซึ่งปัญหาที่พบเจอบ่อย มีดังนี้
ไม่รู้คำศัพท์
- การไม่รู้คำศัพท์ในทีนี้ หมายถึงคัพท์ที่เอาไว้ใช้งานได้จริง เพราะถึงแม้ว่าเด็กไทยจะผ่านการท้องตำคำศัพท์มาบ่อยครั้ง แต่ก็เกิดจากการท่องให้พอสอบผ่านโดยไม่ได้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง ซึ่งเมื่อเด็กไม่ได้เอาศัพท์มาใช้ในชีวิตจริง ก็ทำให้คำศัพท์ที่จำไปก็เปล่าประโยชน์

ไม่มีโอกาสได้ใช้จริง
- หากมองในแง่ความเป็นจริง ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะมีคำศัพท์หรือประโยคภาษาอังกฤษให้ได้ใช้ในชีวิตจริงอยู่บ้าง แต่นั่นก็ไม่ได้ใช้กันอย่างครอบคลุม จึงทำให้เด็กที่มีโอกาสได้เรียนภาษาอังกฤษแต่ไม่เคยพูดจริง ๆ ก็จะทำให้ติดขัดเมื่อต้องพูด และเกิดอาการเคอะเขินจนไม่กล้าพูด
ไม่ถนัดเรื่องไวยากรณ์
- สำหรับแต่เด็กบางกลุ่มแม้จะเข้าใจไวยากรณ์มาเป็นอย่างดี แต่ไม่เข้าใจถึงบริบทหรือวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ก็จะมักนำไปสู่การไม่เข้าใจแกรมม่า ซึ่งแม้ว่าจะสอบผ่านแต่เมื่อนานไปก็ลืมอยู่ดี
ซึ่งปัญหานี้นอกจากเด็กต้องเริ่มแก้จากตัวของตัวเองแล้ว ครู ผู้ปกครอง รวมไปถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ก็มีความจำเป็นจะต้องช่วยกันปลูกฝังเด็ก ๆ ให้เข้าใจ และสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดได้
ข้อมูลจาก : ไทยโพสต์